วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

งานเกษตรภาคอีสาน 2557

งานเกษตรภาคอีสาน ปี 2557 ที่อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร ม.ขอนแก่น นี่คือ ในส่วนของซุ้มขายต้นไม้ พืชพรรณที่น่าสนใจ 
'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

'งานเกษตรภาคอีสาน ขอนแก่น 2557

งานเทศกาลไหมขอนแก่น

ขอนแก่น เสมือนเป็น “เมืองหลวงแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดกับจังหวัดใหญ่ใกล้เคียงถึง 9 จังหวัด เอื้อให้ขอนแก่นเจริญด้วยการเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษา, ศูนย์ราชการ, สำนักงานภาครัฐ, รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน 

    และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ สนามสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น นายปรา โมทย์ สัจจรักษ์ ผวจ.ขอนแก่น นางกฤติยา สัจจรักษ์ นายกเหล่ากาชาด จ.ขอนแก่น นายพงษ์เทพ มุสิเกตุ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ขอนแก่น พ.ต.อ.สุจินต์ นิจพานิชย์ ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น และผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประ เทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่นพร้อมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดขอนแก่น ได้เปิดการแถลงข่าว “งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2552” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-10 ธ.ค. 2552 ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น 

    งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “งานไหมหรืองานเทศกาล” จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2522 โดยใช้ชื่อว่า “งานเทศกาลไหมขอนแก่น” เมื่อปี 2523 ได้นำประเพณีผูกเสี่ยวเข้ามาจัดร่วมกับงานเทศกาลไหม เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมศิลป วัฒนธรรม รวมทั้งส่งผลดีต่อการเมือง การปกครอง ต่อมาเมื่อปี 2524 และปี 2525 ได้ใช้ชื่องานว่า “เทศกาลไหมขอนแก่นและพิธีผูกเสี่ยว” ซึ่งการใช้ชื่องานจะมีการเปลี่ยนอยู่เรื่อย จนปี 2526 ได้มีการพิจารณาชื่อเดิมมาเป็น “งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    โดยมาจัดที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่นทุกปี ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.- 10 ธ.ค. ของทุกปี รวม 12 วัน 12 คืน มีแนวทางหลักในการจัดงาน 3 ประการ คือ งานเทศกาลไหม จะแสดงเอกลักษณ์ความสวยสดงดงามของลายผ้าไหมของชาวขอนแก่น 

    ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรวมผ้าไหมที่มากและสวยที่สุดในประเทศไทย ประเพณีผูกเสี่ยวถือเป็นประเพณีพื้นบ้านสืบทอดกันมานาน จนเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นแสดง ออกถึงความรัก ความผูกพันประดุจพี่น้องและงานกาชาดจังหวัด เป็นองค์กรหลักสำคัญใน การสงเคราะห์แก่ผู้ยากไร้ เป็นองค์กรที่จะส่งเสริมโอกาส ทางสังคมให้กับพี่น้องประชาชน 

    สำหรับการจัดงานเทศกาลไหม ประเพณีผูก เสี่ยวและงานกาชาดจัง หวัดขอน แก่น ซึ่ง จัดครั้งแรกเมื่อ ปี 2522 จนถึง ปัจจุบัน 2552 รวมทั้งสิ้น 31 ปี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงพิธีการ มหรสพ สถานที่และการละเล่นต่าง ๆ ไปตามยุคสมัย แต่วัตถุประสงค์ ของการจัดงาน คือ ส่งเสริมอาชีพและเพิ่มพูนรายได้แก่ราษฎร ส่งเสริมให้มีการเพิ่มผลผลิตจากไหมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไหมให้มีมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือและแพร่หลายยิ่งขึ้น

     นอกจากนี้ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัว และการผลิตสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ เผยแพร่ความรู้วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และพาณิชย์ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการรวมทั้งประชาชนทั่วไปและผดุงรักษาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี 

     ตลอดจนการละเล่นพื้นเมืองของภาคอีสาน ส่งเสริมกิจกรรมโครงการ ต่าง ๆ ตามนโยบาย รัฐบาล ประการสุดท้ายเพื่อหารายได้ให้จังหวัดและกาชาดจังหวัดขอนแก่นเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ ผู้เจ็บป่วยตลอดจนช่วยเหลือราษฎรผู้ยากไร้ในจังหวัดและการกุศลสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นภารกิจของจังหวัด 

    นายปราโมทย์ กล่าวว่า การจัดงาน “เทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น” ประจำปี 2552 เพื่อเป็นการแสดงเอกลักษณ์ความสวยสดงดงามของลายผ้าไหมของขอนแก่น ซึ่งถือได้ว่า เป็นแหล่งรวมผ้าไหมที่มีมากและสวยที่สุดในประเทศไทย

     นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้นักธุรกิจ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งชาวไทยและต่าง ประเทศ มาเที่ยวชมเพื่อให้เห็นคุณภาพ ความสวยงามของไหม และกระบวนการผลิตผ้าไหมของขอนแก่น มีการพัฒนาคุณภาพ ลวดลาย ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้คงไว้และเป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น คือ ประเพณีผูกเสี่ยว ที่เป็นการแสดงออกถึงความรัก ความผูกพัน ความเป็นเพื่อนรัก พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประดุจพี่น้องหรือเพื่อนตาย โดยจัดขึ้นที่ศาลาผูกเสี่ยว บริเวณศูนย์วัฒนธรรม มี อบจ.ขอนแก่น เป็นหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ 

    นอกจากนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ ขบวนแห่ พิธีเปิดงาน การประ กวดพานบายศรี การจัดคุ้มศิลปวัฒนธรรม การประกวดนางงามไหมนิทรรศการผ้าไหม การออกร้านกาชาด ศาลาไหม การจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (โอทอป) สินค้าราชทัณฑ์และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองอีสาน ฯลฯ ซึ่งถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญของจังหวัดในช่วงต้นฤดูหนาว 

    “จุดเด่นของงาน คือ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ที่เวทีกลาง ได้มีการประ กอบพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา มหาราช และการจุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ที่ยิ่งใหญ่สวยงาม

     การประกวดนางงามไหม ชิงรางวัลกว่า 2 แสนบาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ สายสะพาย, การออกร้านธารากาชาด ร่วมลุ้นราง วัลใหญ่ กับสลากกาชาดสมนาคุณ ฉบับละ 20 บาท

    โดยหางบัตรเป็นรางวัลรถยนต์อีซูซุ แพลททินั่ม 2 คัน รถจักรยานยนต์ 6 คัน และรางวัลทองคำ รวม 238 รางวัล มูลค่า 1,744,000 บาท” 

    กิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ ขบวนแห่พิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่และสวย งาม รวมทั้งหมด 8 ขบวนของอำเภอและหน่วยงานต่าง ๆ โดยรอบศาลาไหม จะเป็นศูนย์รวมสินค้าโอทอป และผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ มีการจำหน่ายสินค้าประเภท เอสเอ็มอี และสินค้าราชทัณฑ์ การจำหน่ายผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ไหม และชมการแสดงดนตรีของนักร้องชื่อดัง เช่น พี สะเดิด, เสก โลโซ, วงแคลช, เฉลิมพล มาลาคำ, วงบิ๊กแอส, วงมาลีฮวนน่า, ขนมจีน และโฟร์-มด, วง โปเตโต้, พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์, รุจ เดอะสตาร์, หมอลำคณะเสียงอิสาน และหมอลำซิ่งบัวผัน-ศรีจันทร์ ให้ชมทุกคืน 

    ในงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2552 จะมีการจำหน่ายสินค้า ราชทัณฑ์และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้เป็นงานที่เกิดความประทับใจสำหรับผู้มาเที่ยวในเมืองขอนแก่น สร้างเศรษฐกิจของเมืองดอกคูนเสียงแคนให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นตลอดไป. 

อ้างอิง:http://travel.thaiza.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99/170079/

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือMIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
            
  การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ ดังที่ Kroenke และ Hatch (1994) กล่าวถึง  
            ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสเทศที่มีต่อธุรกิจดังต่อไปนี้
            1. ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
            2. บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
            3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
            ปัจจุบันเทคโนโลยี MIS มีพัฒนาการมากขึ้นจนมีความสำคัญต่อเราในหลายระดับที่แตกต่างจากอดีต เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและความสำคัญสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติงานในสาขาต่าง ๆ เช่น การบัญชี การเงิน การตลาด และการจัดการทรัพยากรบุคคล แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ ดังนั้นบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน ในทุกสาขา จึงสมควรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการของ MIS เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในอาชีพได้
Laudon และ Laudon (1994) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในการแข่งขันทางธุรกิจมี ประการคือ
         1. การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก (Emergence of the Global Economy) ก่อให้เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ ของตลาด (Globalization of Markets) ที่เกิดการบูรณาการของทรัพยากรทางธุรกิจและการแข่งขันทั่วโลก ธุรกิจขยาย งานครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ จากระดับประเทศสู่ระดับภูมิภาค และจากระดับภูมิภาคสู่ ระดับโลก โดยที่การขยายตัวของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นการกระจายสินค้า และบริการอย่างเป็นระบบและทั่วถึง แต่ครอบคลุม การจัดตั้ง การจัด เตรียม ทรัพยากร การผลิตและดำเนินงาน ดังนั้นองค์การธุรกิจในยุค โลกาภิวัตน์จึง ต้องมีโครงสร้าง องค์การและการ ประสานงานที่สอดรับและสามารถควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
       2. การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Transformation of Industrial Economies) ประเทศ อุตสาหกรรม ชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นปรับตัวจากระบบ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะเห็นได้จากประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมาจากธุรกิจบริการ และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมเข้าสู่ธุรกิจบริการ ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน เช่น การแข่งขันทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการสั้นลง ธุรกิจต้องตอบสนองและสร้างความพอใจแก่ลูกค้า เป็นต้น ทำให้ธุรกิจต้องการบุคลากรที่มี ความรู้ (Knowledge Worker) ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์การ ส่งผลให้ธุรกิจต้องพัฒนา ทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้ สารสนเทศที่ ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเป็นว่า MIS จะประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2ประการคือ
          1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ มาไว้ด้วยกัน อย่างเป็นระบบ
         2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน การปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร

อ้างอิง

บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร

บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร
การบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องอาศัยการบริหารที่เป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์การ ผู้บริหารจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ข้อมูลและสารสนเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการวางแผนปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
องค์การและสิ่งแวดล้อมตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ เน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ
1.) ปัจจัยหลักด้านการผลิต
2.) กระบวนการผลิต
3.) ผลผลิต
ระบบสารสนเทศสามารถถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานขององค์การ บางระบบอาจเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางสิทธิ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบที่เคยมี ในขณะเดียวกันองค์การเองก็มีผลกระทบต่อการออกแบบระบบสารสนเทศ และเป็นผลกระทบต่อระบบสารสนเทศต่อองค์การ คือ
1) ลดระดับขั้นตอนของการจัดการ
2) มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3) ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4) เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5) กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์การได้ และมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและคู่ค้าซึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ถูกนำมาสร้างเป็นโครงสร้างของระบบสารสนเทศภายในองค์การ ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า
องค์การเสมือนจริง เป็นรูปแบบขององค์การแบบใหม่ ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าและบริการ ลักษณะขององค์การเสมือนจริงประกอบด้วย
1) มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2) ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3) มีความเป็นเลิศ
4) มีความไว้วางใจ
5) มีโอกาสทางตลาด
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น
1) ผู้ปฏิบัติงาน
2) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ
3) ผู้บริหารระดับกลาง
4) ผู้บริหารระดับสูง
ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไป จะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆหลายระบบตัวอย่างเช่น ระบบสารสนเทศงานบริหารโรงแรม ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ได้แก่ ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบจัดการห้องพัก และระบบบริหารงานบุคคล
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยระบบย่อย ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการสรรหาและคัดเลือก ระบบฝึกอบรม ระบบประเมินผล และระบบสวัสดิการ 
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน ผู้บริหารในองค์การระดับที่แตกต่างกัน มีความต้องการในการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงได้ถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ

อ้างอิง
http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที